วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 2 อยู่อย่างปลอดภัย

2.1การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย

    โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา มีกลไกในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนกับกำแพงเมือง ด่าน หรือป้อมปราการที่สร้างไว้สำหรับเป็นเครื่องกีดขว้าง สกัดกั้นหรือดักจับทำลายเชื้อโรค เพื่อไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ภายในร่างกายจนเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้ ด่านหรืออวัยวะที่ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคโดยอัตโนมัตินั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 ด่านด้วยกันคือ อ่านต่อ
2.2 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย 

ภูมิคุ้มกันก่อเอง จากการฉีดวัคซีน
    โรคบางชนิดเมื่อเคยเป็นครั้งหนึ่งและรักษาหายแล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนั้นทำให้ไม่เป็นโรคนั้นอีกตลอดไป เช่น โรคอีสุกอีใส เป็นต้น ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า เซลล์ที ในร่างกายจะจดจำเชื้อโรคอีสุกอีใสนี้ได้ จึงกระตุ่นให้เซลล์บีพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาเพื่อสร้างแอนติบอดีไปจัดการกับแอนติเจนเชื้อโรคอีสุกอีใสนั้น ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้เรียกว่า อ่านต่อ
2.3 ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน 

โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(Acquired Immune Deficiency Syndome ; AIDS
    เป็นโรคที่เกิดจากการมีเชื้อไวรัส HIV เข้าสู่ร่างกาย แล้วไปขยายจำนวนอยู่ภายในเซลล์ที จนเซลล์ทีตายไปเป็นจำนวนมาก จากการที่ไวรัส HIV โจมตีระบบภูมิคุ้มกันนี้ทำให้คนเป็นโรคเอดส์ตายลงไปเป็นจำนวนมากเพราะร่างกายสูญเสียความสามารถในการต่อสู้โรค อ่านต่อ

บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข



1.1เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์










โครงสร้างของเซลล์


ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยน้ำมากที่สุดถึงร้อยละ 75-85 โปรตีนร้อยละ 10-20 ไขมันร้อยละ 2-3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 1 และ สารละลายอนินทรีย์ร้อยละ 1 เซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแม้จะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน แต่จะมีองค์ประกอบพื้นฐานภายในเซลล์ที่คล้ายคลึงกัน องค์ประกอบภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ นิวเคลียส ออร์แกนลล์ และส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ อ่านต่อ


1.2 การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์


การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

สมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต คือสามารถควบคุมและคัดเลือกสาร ผ่านเข้าออกเยื้อหุ้มเซลล์ เซลล์สิ่งมีชีวิตจึงดำรงอยู่ได้ โดยมีองค์ประกอบเคมีภายในเซลล์แตกต่างจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งชนิดและปริมาณสารเคมี รักษาสภาพเซลล์ให้คงสมบูรณ์อยู่ และให้เหมาะสมต่อการเกิด ปฏิกิริยาชีวเคมีต่างๆของเซลล์ ซึ่งต้องการสารวัตถุดิบจากภายนอกและมีของเสียเกิดขึ้นที่กำจัดทิ้ง ตลอดจนมีผลผลิตเกิดขึ้นที่จะต้องส่งออกไปนอกเซลล์ เซลล์มีการแลกเปลี่ยนสารจากสิ่งแวดล้อมแบบคัดเลือกได้เช่นนี้ เพราะเยื้อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื้อเลือกผ่าน อ่านต่อ


1.3 กลไกรักษาดุลยภาพ

กลไกรักษาดุลยภาพ
นักกีฬาที่ออกกำลังการกลางแจ้งหรือแข่งขันกีฬาเป็นเวลานานย่อมมีการสูญเสียเหงื่อมาก ทำให้มีการเสียเกลือแร่ออกไปพร้อมกับเหงื่อด้วย นักกีฬาจึงต้องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่เยไปพร้อมกลับเหงื่อ ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตต้องรักษาสภาพของสิ่งสำคัญภายในเซลล์ เช่น น้ำ เกลือแร่ อุณหภูมิ สภาพความเป็นกรด-เบส ให้อยู่ในสภาพที่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ซึ่งเป็นการรักษาดุลยภาพของร่างกายนั่นเอง อ่านต่อ